ญี่ปุ่นจะรับมืออย่างไร เมื่ออัตราการเกิดลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 38 ติดต่อกัน

รัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวว่าประชากรเด็กของญี่ปุ่นลดลงติดต่อกันเป็นปีที่ 38 และต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ สำนักสถิติของญี่ปุ่นกล่าวว่าจำนวนเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปีในญี่ปุ่นอยู่ที่ 15.22 ล้านคน ณ วันที่ 1 เมษายน ลดลงกว่าปีก่อนถึง 180,000 คนหรือ 1.2% และเป็นข้อมูลที่ต่ำที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลในปี 1950 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ก่อนวันเด็กของญี่ปุ่นในวันที่ 5 พฤษภาคม

อัตราการเกิดในญี่ปุ่นยังคงต่ำ ท่ามกลางความขาดแคลนการสนับสนุนเหล่าผู้หญิงทำงานที่จะต้องรับภาระทั้งงานบ้านและบทบาททางสังคมอื่น ๆ เช่นเดียวกับชั่วโมงการทำงานที่ยาวเป็นพิเศษ และต้นทุนการศึกษาที่สูง จากรายงานของสำนักงานสถิติญี่ปุ่นระบุว่าประชากรเด็กมีเพียงร้อยละ 12.1 ของประชากรทั้งหมด ถือว่าญี่ปุ่นอยู่ในอันดับต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่มีประชากรเกิน 40 ล้านคน ซึ่งตามหลังมาด้วยเกาหลีใต้ที่ร้อยละ 12.9, อิตาลี และเยอรมนีที่ร้อยละ 13.4 สำนักงานสถิติของญี่ปุ่นระบุว่าประชากรเด็กมีสัดส่วนเพียง 12.1% ของประชากรทั้งหมด และญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ต่ำที่สุดในบรรดาประเทศที่มีประชากรมากกว่า 40 ล้านคน รองลงมาคือเกาหลีใต้ที่ 12.9% อิตาลีและเยอรมนีที่ 13.4%

ในปี  2017 ผู้หญิงญี่ปุ่นโดยเฉลี่ยให้กำเนิด 1.43 คน ซึ่งใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรที่อยู่ในอัตรา 1.8 คน

จากสถิติล่าสุดของรัฐบาลญี่ปุ่นระบุว่าจำนวนการเกิดของประชากรในปี 2018 นั้นลดลงมาอยู่ที่ 921,000 คน ถือว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดทำสถิติมาตั้งแต่ปี 1899 ในส่วนจำนวนประชากรทั้งหมดของญี่ปุ่นลดลงเป็นประวัติการณ์ถึง 448,000 คน จนอยู่ที่ 126 ล้านคน ซึ่งคาดการณ์ว่าในปี 2050 จะลดลงเหลือต่ำกว่า 100 ล้านคน เว้นแต่จะมีการเปิดให้ชาวต่างชาติเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วญี่ปุ่นก็เริ่มเปิดช่องทางให้แรงงานต่างชาติมากขึ้น เพื่อลดความตึงเครียดในการขาดแคลนแรงงาน นายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ กล่าวว่าความชราภาพและอัตราการเกิดต่ำเป็นวิกฤตระดับประเทศ เขาสัญญาว่าจะใช้แรงงานและการปฏิรูปอื่น ๆ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวที่ไม่กล้ามีลูก จากการที่อายุประชากรโดยเฉลี่ยยืนยาว ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสำหรับการดูแลผู้สูงอายุและประกันสังคม

ทางด้านฝ่ายนิติบัญญัติฝั่งอนุรักษ์นิยมในรัฐบาลของอาเบะได้กล่าวโทษผู้สูงอายุหรือผู้ไม่มีบุตรว่าเป็นสาเหตุเรื่องแนวโน้มทางประชากรในระยะยาวต่างกับนาย อาโซ ทาโร่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่กล่าวขอโทษต่อคนไม่มีบุตรว่าเป็นสาเหตุของค่าใช้จ่ายประกันสังคมที่เพิ่มขึ้นและทำให้ประชากรลดลง

 

แหล่งที่มา : tvnz

FOLLOW US ON
FACEBOOK