When I was in Tokyo #7 : เมื่อได้พบนานามนุษย์ญี่ปุ่น…

บทนำ

เพื่อนๆของเราในเอกญี่ปุ่นเกือบ 30 คนพร้อมใจกันเลือกมหาวิทยาลัยที่จะไปแลกเปลี่ยนในจังหวัดต่างๆ ที่ไม่ใช่ ‘โตเกียว’ แต่เรากลับต่างกว่าคนอื่นเพราะเราตัดสินใจเลือกไปเรียนในเมืองหลวงของญี่ปุ่นแห่งนี้ ตอนที่บอกเพื่อนๆ ว่าเราจะไปโตเกียว ทุกคนพากันพูดว่า ‘โห ! โตเกียวเลยเหรอ แพงนะ’ หรือไม่ก็ ‘ไปโตเกียว ไปทำอะไร?’ เราเริ่มหวั่นว่าสิ่งที่เราเลือกมันถูกต้องไหม เราจะอยู่ยังไง แถมนอกจากเงินค่าเทอมที่มหาวิทยาลัยออกให้เราก็ไม่ได้เงินสนับสนุนอะไรอีก เงินจะพอไหม เตรียมใจไว้เลยว่าต้องลำบากแน่ๆ แต่เชื่อไหม ว่าสิ่งที่เราได้เจอ ได้เรียนรู้มาจากโตเกียว ให้อะไรเรามากกว่า ‘ของแพง’ ให้อะไรเรามากกว่า ‘เมืองหลวงที่ไม่มีอะไร’ เสียอีก When I was in Tokyo จะเป็นเรื่องที่ให้ทุกคนได้เห็นภาพของโตเกียวมากขึ้น จะทำให้ได้รู้ว่าชีวิตในโตเกียวไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด

Chapter 1

#1 : เปิดหอพักนักศึกษาราคา 17,000¥ ในเมืองที่ว่ากันว่าค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก เปิดหอพักเด็กแลกเปลี่ยนในโตเกียวให้ดูกันทุกซอกทุกมุม นี่แหละที่ที่เราจะอยู่ตลอด 1 ปีนี้

#2 : เริ่มต้นอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่เรื่องง่าย โตเกียวก็เช่นกัน จะมาอยู่ญี่ปุ่นต้องทำอะไรบ้าง มีการต้อนรับเด็กนักเรียนแลกเปลี่ยนยังไงบ้าง มาหาคำตอบพร้อมกันเลย

#3 : มหา’ลัยของเราน่าอยู่ อู้หูงานดีทุกคน พาไปรู้จักกับมหาวิทยาลัยโคะคุชิคัง ที่ๆ คอยดูแลเรามาตลอด 1 ปี รวมถึงพาไปดูชีวิตในมหาวิทยาลัยญี่ปุ่น สนุกขนาดไหนห้ามพลาด

#4 : ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นเริ่มต้นจาก ฮานามิ ใครจะไปรู้ว่าแค่ไปดูดอกไม้จะทำให้ความสัมพันธ์ของพวกเรามันพัฒนาได้มากขนาดนี้

#5 : จนขนาดนี้ต้องไบโตะ(งานพิเศษ)แล้วล่ะ!? เล่าเรื่องการทำไบโตะ (งานพิเศษ) ครั้งแรกในชีวิตเพื่อแลกกับความอยู่รอดในเมืองใหญ่ที่ทำให้เราได้เห็นคนญี่ปุ่นในมุมมองของลูกค้า

#6 : งบน้อยอ่ะกินอะไรดี ? พาไปหาแหล่งอาหารถูก และอร่อยที่เราชอบแวะเวียนไปตลอด 1 ปี

#7 : เมื่อได้พบนานามนุษย์ญี่ปุ่น... ความสัมพันธ์กับเพื่อน เจ้านาย คนญี่ปุ่นที่บางทีก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด มีอะไรมากมายที่เรายังไม่เข้าใจพวกเขาหรืออาจจะเข้าไม่ถึงเลย

#8 : เมื่อผู้หญิงมาคู่กับการช็อปปิ้ง รู้แหละว่าเงินมีจำกัด แต่อยากช็อปปิ้งอ่ะมันช่วยไม่ได้ เราจะพาทุกคนไปหาแหล่งช็อปปิ้งถูกๆ ในโตเกียวที่เราชอบไปเอง

#9 : ฉะโด พิธีชงชา กิโมโน พามาดูพิธีชงชาแบบเต็มรูปแบบ จัดเต็มในชุดกิโมโนครั้งแรกในชีวิต ดื่มจริง นั่งจริง เมื่อยจริง

#10 : ทัศนะศึกษาฟูจิที่ไม่เห็นฟูจิ เล่าความเฟลแต่ประทับใจกับการไปตามฟาฟูจิซังกับทริปครั้งสุดท้ายกับมหาวิทยาลัย

#11 : My routine in 1 day อยู่ๆ มาเกือบจะครบปี ชีวิตก็เริ่มวนลูปไปมา มาดูกันว่าเมื่อมาอยู่ญี่ปุ่นเราต้องทำอะไรบ้างใน 1 วัน

#12 : หิมะตกในเดือนพฤศจิกายน เล่าเรื่องความตื่นเต้นของสองเด็กไทยเมือครั้งมีหิมะหลงฤดูตกในรอบ 50 ปีของญี่ปุ่น

#13 : เรื่องที่รู้สึกขัดใจในญี่ปุ่น ตอนแรกๆ ก็ตื่นตาตื่นใจอยู่หรอก แต่พออยู่มานานๆ เข้าก็รู้สึกคิดถึงสิ่งที่คุ้นชินตอนอยู่ที่ไทยขึ้นมา ที่ไทยทำได้ แต่ที่ญี่ปุ่นทำไม่ได้

#14 : เม้ามอยเพื่อนรัก ความทรงจำสุดแสนประทับใจของเพื่อนๆที่คอยอยู่ข้างๆเราตลอด 1 ปีที่ญี่ปุ่น

#15 : ถึงเวลาอำลา ‘พิธีจบการศึกษา’ ข้อคิดต่างๆ ที่ได้ในวันพิธีจบการศึกษาของนักเรียนแลกเปลี่ยน ในที่สุดการจากลาก็มาถึงจนได้

หลังจากเชื่อมาตั้งนานว่าคนญี่ปุ่นเป็นคนเนี้ยบ มีระเบียบ และมีกำแพงส่วนตัว แต่พอได้มาเจอจริงๆ 1 ปีที่ผ่านมา ทำให้เรารู้ว่าพวกเขามีหลายแบบกันเหลือเกิน ให้เราได้เรียนรู้ นี่อาจจะเรียกว่าเป็นเสน่ห์ของคนชาตินี้ก็เป็นได้

มนุษย์เพื่อนญี่ปุ่น

เชื่อไหม...ในคลาสเรียนรวมกับคนญี่ปุ่นที่มีเด็กต่างด้าวอยู่ 3-4 คน ทั้งเทอมนั้นเราไม่ได้เพื่อนคนญี่ปุ่นจากคลาสนี้เลย เขาไม่สนใจ ไม่เคยคุยกันแม้สักคำ เหมือนมีเส้นบางๆ กั้น ที่มองไม่เห็นหรอกแต่รู้สึกได้ว่ามีอยู่ ต่างจากกลุ่มที่คุ้นเคยกับชาวต่างชาติเป็นอย่างดีโดยสิ้นเชิง ยูอิจิโร่ ฮิโตมิ อิคุมิ คานาโกะ 4 คนนี้คือเพื่อนญี่ปุ่นที่สนิทที่สุด เราเจอกันผ่านทางระบบบัดดี้ของศูนย์ดูแลนักศึกษาต่างชาติ พวกเขาทำมากกว่าเทคแคร์ คอยดึงเราให้เข้าไปอยู่ในสังคมของเขาด้วย ทุกครั้งที่เขาพาเราไปรู้จักกับเพื่อนญี่ปุ่นในกลุ่มของเขา ไม่ได้ทำให้รู้สึกแปลกแยกเลย

มนุษย์ปากไม่ตรงกับใจ

ไม่ใช่ว่ารักแต่ไม่แสดงออกอะไรแบบนั้นนะ แต่เป็นนิสัยของคนญี่ปุ่นที่ไม่ยอมพูดสิ่งที่ตัวเองต้องการออกมา จะใช้วิธีพูดอ้อมเพื่อไม่ให้เสียมารยาท ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราถามยูอิจิโร่ว่า “งานXXXมะรืนนี้ไปด้วยกันป่าว” นางก็จะตอบเราว่า “ถ้าได้ไปก็ดีเนอะ” และด้วยความเป็นคนไทยเราก็พยายามถามต่อเพื่อให้ได้คำตอบ(วันนั้นก็ยังไม่ได้ แต่สรุปนางไปจ้า) มันไม่ใช่ว่าขัดใจอะไรหรอกนะ แต่ทุกครั้งที่เป็นอย่างนี้เราก็จะขำๆ พลางคิดว่าเออก็ดูแคร์กันดีเนอะ 5555

มนุษย์เจ้านายขา

แม้เราจะได้ทำงานแค่ในร้านอาหารไทย แต่เจ้านายญี่ปุ่นก็คือเจ้านายญี่ปุ่น ความเนี้ยบแบบญี่ปุ่นจะต้องมา เวลาเจอฉะโจ(เจ้าของร้าน)เขาก็มักจะสอนว่า เจอลูกค้าให้ยิ้มนะ พูดเสียงดังๆ นะ ขอบคุณทุกครั้งที่คนในครัวทำอาหารออกมาให้นะ ส่วนกับเทนโจ(ผู้จัดการร้าน) การทักทาย3เวลาหลังอาหารต้องมา (และต้องสบตาอีกฝ่ายด้วย) แต่มีอยู่ครั้งนึงที่เราโดนดุจังๆ คือตอนปีใหม่เราไม่ได้ส่งข้อความไปอวยพรเขา วันแรกที่กลับมาทำงานเทนโจถามเลย “ไม่ส่งข้อความมาหน่อยเหรอ เสียดายที่เรียนมานะ” ตอนนั้นช็อค และรีบขอโทษขอโพยยกใหญ่ กลัวแล้วค่า T^T

มนุษย์พนักงานสาวเสียง4 

ประเภทนี้จะพบได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยเฉพาะร้านขายของผู้หญิง จะรวมกลุ่มกันเยอะเป็นพิเศษ เช่น ที่ตึก Shibuya109 วันแรกที่เข้าไปรู้สึกว่าเราปวดหูมากกับเสียงของพนักงานหญิงที่เรียกลูกค้าด้วยเสียงที่มากกว่าเสียง 2 อีกเท่าตัว คือทึ่งตรงที่ว่าเขาดัดเสียงแหลมๆ เล็กๆ ขนาดนั้นได้ยังไงทั้งๆ ที่ยังดังอยู่ ยิ่งถ้าทุกร้านพร้อมกันเปล่งเสียงยิ่งทำให้รู้สึกทรมานยิ่งกว่าเดิม บอกตรงๆ ว่าเราไม่สามารถอยู่ตรงนั้นได้นานๆ จริงๆ ถ้าไม่จำเป็น

มนุษย์ผู้ชายไม่จีบผู้หญิง แต่ผู้หญิงต้องจีบผู้ชาย

ตั้งแต่คลิปเอ็มวีสอนหญิงใช้มารยาร้อยเล่มเกวียนของญี่ปุ่นเป็นกระแสเมื่อปีก่อน หลายคนก็ถามว่า “มันต้องขนาดนี้เลยหรอ ?”...อืม มันก็ขนาดนั้นแหละ ผู้ชายญี่ปุ่นเป็นประเภทที่จะไม่ค่อยแสดงความรู้สึกออกมาก่อน ผู้หญิงเลยต้องเป็นฝ่ายกระตุ้นเสียเอง การอ่อยของนางอาจจะไม่ได้ขนาดเต้นรูดเสาโชว์ แต่มันจะเป็นรายละเอียดอะไรเล็กๆ น้อยๆ เช่นการใช้เสียง การใช้สายตามองช้อนให้ดูน่ารักที่ผู้ชายดูไม่ออก ที่เราเคยเจอจะๆ ก็ตอนที่มีลูกค้าสาวเขียนเบอร์โทรหลังใบเสร็จแล้วมายื่นให้เทนโจตอนเราทำงานอยู่ด้วย (เขินแรงมากก >///<)

FOLLOW US ON
FACEBOOK